เลขที่สินค้า AM-010 คลิกที่ภาพเพื่อขยายใหญ่
เหรียญ ครูบาศรีวิไชย ฉลุลาย รุ่นแรก วัดหมื่นล้าน จังหวัดเชียงใหม่ ๒๗ เมษายน ๒๕๒๒ เนื้อนวโลหะรมดำ รูปใบโพธิ์ ขนาด 2.4 ซ.ม. x 3.3 ซ.ม. น้ำหนัก 11.92 กรัม
สร้างจำนวน 999 เหรียญ หายาก เหมาะแก่การสะสม
ด้านหน้า รูปครูบาศริวิไชย หน้าตรงครึ่งตัวสวมสร้อยประคำ ภายในกรอบรูปใบโพธิ์ กรอบโดยรอบประดับลายฉลุ
ด้านหลัง ยันตร์ อักขระขอม ภาษาไทย รุ่นแรก อยู่ด้านล่าง ตอกโค๊ต
สภาพของเหรียญ ดีเยี่ยม สีผิวเดิม ไม่ผ่านการใช้
ราคา 10,000 บาท
ครูบาศรีวิไชย ชื่อเดิมว่า อินเฟือน เกิดวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2421 ที่บ้านปาง ตำบลแม่ตืน (ปัจจุบันคือตำบลศรีวิไชย) อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน
เป็นบุตรของนายควาย และ นางอุสา เป็นคนที่ 3 มีพี่ชาย 2 คน น้องสาว 2 คน บรรพชาครั้งแรกเป็นสามเณรเมื่ออายุได้ 18 ปี ต่อมาปี พ.ศ. 2443 ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดโฮ่งหลวง อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน ได้รับฉายาว่า สิริวิชโยภิกขุ
มีนามญัติว่า ศรีวิไชย
ท่านเคร่งครัดต่อศีลาจารวัตร ไม่เสพหมากพลู เมี่ยง บุหรี่ ไม่ฉันเนื้อสัตว์ ฉันอาหารมื้อเดียว เป็นผู้มีความคิดแนวอนุรักษ์ ยึดมั่นในหลักปฏิบัติตามประเพณีนิยมของไทยเหนือแบบลานนา
ไม่ส่งเสริมให้งมงายในไสยศาสตร์ เผยแพร่ความรู้ความเข้าใจของหลักธรรม เป็นที่รักใคร่และเคารพนับถือของหมู่ชนชาวเหนือ รวมถึงชาวเขา และชาวกระเหรี่ยง จึงมีผู้คนมาเข้าเป็นศานุศิษย์และขอให้ท่านบวชให้เป็นจำนวนมาก ความที่ท่านยึดแนวคิดและปฏิบัติตามจารีตเดิมของลานนา
พระผู้นำอาวุโสฯ สามารถสร้างศานุศิษย์ด้วยการบวชให้ ซึ่งขัดต่อหลักปฏิรูปศาสนาของส่วนกลาง จึงมีปัญหากับเจ้าคณะอำเภอบ้านโฮ่ง ซึ่งเป็นพระปกครองแต่งตั้งโดยคณะสงฆ์ส่วนกลาง ครูบาศรีวิไชยต้องอธิกรณ์ ถูกกล่าวหาว่า ทำการบวช อุปสมบทสามเณรและพระภิกษุจำนวนมากโดยไม่มีใบอนุญาต
เป็นพระอุปัชฌาย์เถื่อน ไม่ถูกต้องตามพระราชบัญญัติลักษณะการปกครองสงฆ์ ร.ศ. ๑๒๑ หัวแข็งดื้อดึงไม่ยอมอยู่ใต้บังคับบัญชาเจ้าคณะแขวงลี้ อันเป็นท้องที่ที่วัดบ้านปางตั้งอยู่ ไม่เข้าร่วมประชุมรับรู้คำชี้แจงเรื่องพระราชบัญญัติลักษณะการปกครองสงฆ์ ร.ศ. ๑๒๑ ไม่ร่วมสมโภชณ์จุดประทีปโคมไฟ ตีฆ้องกลอง
วันพิธีบรมราชาภิเศกพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ไม่ยอมแสดงจำนวนบัญชีพระภิกษุสงฆ์สามเณรในวัดต่อเจ้าคณะแขวง อวดตัวทำตนเป็นผู้วิเศษ ปฎิบัติตนนอกกฏหมาย ถูกกักตัวเพื่อไต่สวนหลายครั้ง แต่ละครั้งทางการท้องถิ่นไม่สามารถเอาผิดท่านได้
เพราะท่านเชื่อและยึดมั่นในหลักปฏิบัติตามประเภณีเดิมแบบลานนา จึงถูกขับออกจากจังหวัดลำพูน ถูกกักตัวที่วัดศรีดอนไชย จังหวัดเชียงใหม่เพื่อรอการไต่สวนของเจ้าคณะมณฑล ระหว่างถูกกักตัวที่เชียงใหม่นั้น มีชาวเชียงใหม่ และจังหวัดใกล้เคียง หัวเมืองทางเหนือ ชาวบ้าน ชาวเขา
นำข้าวของมาเยี่ยมเยือนและถวายเป็นจำนวนมาก ยังความกริ่งเกรง จึงถูกยัดข้อหาซ่องสุมผู้คน เป็นผีบุญ ครูบาศรีวิไชยถูกควบคุมตัวอย่างแน่นหนาขึ้นรถไฟนำตัวไปไต่ส่วนที่กรุงเทพฯ ผลจากการไต่สวนพระศรีวิไชยพ้นความผิดจากข้อหาอธิกรณทั้งปวง ได้รับความเมตตา
และคำแนะนำจากสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรสสมเด็จพระสังฆราช เมื่อกลับมา พระศรีวิไชยได้ปฏิรูปตนเองเป็นพระนักพัฒนา รับบูรณะปฏิสังขรณ์วัดร้าง วัดที่เสื่อมโทรมทั่วลานนา หลังจากที่ได้เป็นประธานสร้างถนนขึ้นวัดพระธาตุดอยสุทพจนแล้วเสร็จ ก็ต้องอธิกรณ์
เป็นครั้งที่สอง ถูกส่งตัวไปกรุงเทพฯ ให้มหาเถรสมาคมไต่สวน คราวนี้ข้อหาหนักหนามาก เมื่อถูกส่งกลับ ต้องละเลิกกิจกรรมต่างๆ เก็บตัวเงียบ พักรักษาตัวที่บ้านเกิด วัดบ้านปาง อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน
ครูบาศรีวิไชย มรณภาพเมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2481 ที่วัดบ้านปาง อำเภอลี้ สิริอายุได้ 59 ปี ตั้งศพไว้ที่วัดบ้านปาง 1 ปี จึงได้เคลื่อนศพฯ มาตั้งไว้ ณ วัดจามเทวี อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน
และได้รับพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2489