พระพุทธรูป
AM-058 คลิกที่ภาพเพื่อขยายใหญ่

พระพุทธรูปยืนศิลา Schist เขียวอมเทา ยุคสมัยคุชชาน (Kushan) ศิลปะ คันธาระ อินเดีย ราว พุทธศตวรรษที่ 7 - 9 จาก Takht-i-bahi ขนาด สูง 124 ซ.ม. กว้าง 42 ซ.ม. หนา 18 ซ.ม.

ด้านหน้า แกะสลักลอยองค์ พระพุทธเจ้า พระเกษาลายเส้นหยิกมีมุ่นมวยผม พระกรรณหย่อนยานยาวมีรอยเจาะทั้งสองข้าง เป็นร่องรอยจากการสวมตุ้มหูของชนชั้นกษัตริย์ อุณาโลมระหว่างพระโขนงทั้งสอง พระเนตรมองต่ำ พระโอษฐ์ยิ้ม ครองจีวรมีริ้วรอยจีบเป็นลายคลื่น เรียงลดหลั่นไล่ตามกันเมือนจริง พระวรกายสง่างามดั่งมนุษย์ผู้เป็นมหาบุรุษ ประภามณฑลกลมใหญ่หลังพระเศียร พระหัตถ์ขวายกขึ้นหงายฝ่าพระหัตถ์ออกระดับพระอุระ ในท่าปกป้องคุ้มครองป้องภัย (Protection / reassurance / no fear อินเดียเรียก ปาง Abhaya mudra) องค์นี้ไม่มีพระหัตถ์ขวาแต่มีรอยร่องสลัก สำหรับเสียบพระหัตถ์ขวาที่แกะแยกต่างหาก พระหัตถ์ซ้ายถือปลายสังฆาติ ยืนเหนือฐานกว้างมีภาพแกะสลักพระสงฆ์ในซุ้มปะรำพิธี กำลังยืนไหว้หันหน้าเข้าหาบาตรพระพุทธเจ้าข้างละสององค์

พระพุทธรูปรุ่นแรกของโลก อุบัติขึ้นในสมัยพระเจ้าขะนิสกะ (Kanishka) ราชวงศ์คุชชาน (Kushan) เขตคันธาระ ศิลปะฝีมือตระกูลช่างตะวันตก (Gandhara school) ริเริ่มสร้างโดยชาวพุทธผู้สืบเชื้อสายชาวกรีกที่รุกรานเข้ามาและได้ปกครองดินแดนแถบนี้ ครั้งนั้น นำทัพโดยพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชจากมาเซดอน

ที่แคว้นคันธาระ พระพุทธรูปยืน สร้างขึ้นเพื่อเป็นพระประธานในโบสถ์ วิหาร ฯลฯ องค์พระครบทุกส่วน ขนาดใหญ่เช่นนี้ มีให้เห็นไม่เกิน 15 องค์ ล้วนขาดพระหัตถ์เบื้องขวา ประภามณฑลแตก คอหัก ข้อเท้าหัก ข้อมือหัก หลงเหลือส่วนหนาลำตัวองค์พระ (Torso) กระจายอยู่ในพิพิธภ้ณฑ์ทั่วโลกหลายแห่ง เกือบทุกองค์ล้วนถูกประกอบ ซ่อมแซม ตกแต่งจากชิ้นส่วนแตกหักที่พบหลงเหลือจากการขุดค้น เนื่องจากหิน Schist ส่วนใหญ่ เป็น Green Phylite และ Gray-Blue Mica Schist ค่อนข้างนิ่มและเปราะ ง่ายต่อการแกะสลัก จุดอ่อน คือ กระเทาะแตกหักง่าย

พระพุทธรูปและสิ่งเคารพอื่นที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนาทั้งหมดทั้งมวล ของ คันธาระแท้ ล้วนแกะสลักจากหิน Schist ชึ่งพบมากใน Swat Valey ส่วนฝีมือดีเยี่ยมแกะสลักได้สวย พบในเขต Takht-i-bahi อย่างไรก็ดี มีพระพุทธรูปศิลาแกะสลักจากหินอ่อนดำ Black calcareous Marble มีความแข็งและแกร่งกว่าหิน Schist ไม่พบแตกหัก มีแต่รอยบิ่นกระเทาะ องค์พระจึงสมบูรณ์ ขณะนี้เท่าที่พบ มีสามองค์ คือ สององค์อยู่ที่ National Museum New Delhi, India. อีกหนึ่งองค์อยู่ที่ Lahore Museum, Pakistan.

พระพุทธรูปยุคแรกๆ ล้วนแกะสลักจากศิลา ครั้นต่อมาในยุคปลายนิยมสร้างปูนปั้นทาสี (Polychrome Stucco) เขียนคิ้ว ดวงตา ทาปาก ฝีมือดี สวยงาม อ่อนซ้อย ส่วนใหญ่พบในเขต Hadda ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของเมืองคันธาระ และอีกแห่งหนึ่งทางทิศตะวันออก ที่เขต Taxila จากความง่าย สวยงาม ใช้เวลาในการสร้างสั้น ค่าใช้จ่ายต่ำ เทคนิค Polychrome Stucco ของแคว้นคันธาระนี้ จึงเป็นที่นิยมแพร่หลายไปทั่วเอเชียกลาง ไปไกลถึงจีน เกาหลี และญี่ปุ่น ตัวอย่างมีมากมายที่ถ้ำมู่เกา ตุนหวง (Mogao, Dunhuang) ประเทศจีน

พระพุทธรูปศิลาระดับพิพิธภัณฑ์ (Museum piece) เก่าแก่ ของแท้ หายากมาก จากแหล่งกำเนิดเดิม แดนพุทธภูมิ

นำเสนอเพื่อการเรียนรู้ ยากประเมินค่า ไม่สามารถระบุราคา

พระพุทธรูปรุ่นแรกของโลกอุบัติขึ้นในสมัยเดียวกันกับคันธาระนี้ ของพระเจ้าขะนิสกะ (Kanishka) ราชวงศ์คุชชาน (Kushan) อีกแห่งหนึ่ง อยู่ห่างจากเขตคันธาระ ลงไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ที่เมืองมธุรา เป็นศิลปะฝีมือตระกูลช่างชาวพุทธิอินเดีย (Mathura school) พุทธศิลป์ กำยำ ล่ำสัน แข็งแรง แกะสลักจากหินทรายสีชมพูอมแดงลายจุดขาว (White-spoted red sand stone, Mottle red sand stone) หรือ ที่ชาวอินเดียเรียกว่า หินทรายแดงศรีครี่ (Red sikri sand stone) เป็นหลัก

พระพุทธรูป พระพุทธรูป พระพุทธรูป พระพุทธรูป พระพุทธรูป พระพุทธรูป พระพุทธรูป พระพุทธรูป
พระพุทธรูป พระพุทธรูป พระพุทธรูป พระพุทธรูป พระพุทธรูป พระพุทธรูป

คลิกที่นี่ เพื่ออ่านเพิ่มเติม กำเนิดพระพุทธรูป www.dandinth.com/ar-001-8.htm

ติดต่อ สั่งซื้อ กลับไปหน้าหลัก