ขันเงิน โบราณ ขันเงิน โบราณ ขันเงิน โบราณ ขันเงิน โบราณ ขันเงิน โบราณ ขันเงิน โบราณ ขันเงิน โบราณ ขันเงิน โบราณ
เลขที่สินค้า AM-060 คลิกที่ภาพเพื่อขยายใหญ่

ขันเงิน สมัยราชวงศ์ ก่อนยุคอาณานิคม Colonial Burma ราว ค.ศ. 1750 จาก มันดาเลย์ ประเทศพม่า ขนาด เส้นผ่าศูนย์กลาง 14 ซ.ม. สูง 11 ซ.ม. น้ำหนัก 620 กรัม

สลักบุ ดุนลาย Repousse ลอยองค์ สูงต่ำ ภาพเรื่องราวในประวัติศาสตร์ของชาวพม่า แสนภาคภูมิจนกลายเป็นตำนานเล่าขาน แกะสลัก สักลาย บนภาชนะเครื่องสูง ของใช้ในราชวงศ์ เป็นเรื่องราวของพระมหากษัตริย์พระองค์แรกในประวัติศาสตร์พม่า ผู้ซึ่งได้ทำการรวบรวมอาณาจักรจากหมู่เหล่าต่างๆ ให้เป็นปึกแผ่นหนึ่งเดียว (The first King of all Burma) พระเจ้าอะนอราทา มินซอ (Anawrahta Minsaw) ปกครองพม่าระหว่างปี ค.ศ. 1044 - 77 สร้างอาณาจักรพุกาม เหนือดินแดนแสนแห้งแล้ง ลุ่มน้ำอิระวะดี (Axeyarwaddy) ตั้งเมืองพุกาม (Bagan) เป็นเมืองหลวง พระองค์ได้เปลี่ยนจากศาสนาพุทธมหายาน ซึ่งเดิมนับถือนิกาย Ari ลัทธิตันตริก (Tantrik) จากธิเบต-ภูฐาน มีพฤติกรรมมัวเมาในอบายมุข ลุ่มหลงมนตราคาถาอาคม ขาดวินัยไร้จรรยา นับถือเทพเจ้าหลายองค์ ที่สำคัญ คือ ศาสนาพุทธนิกายนี้ มีอิทธิพลเหนือความคิดจิตวิญญาณของพลเมือง ซึ่งต่างจากพุทธศาสนาแดนใต้ Lower Burma พระองค์ได้ขอพระไตรปิฎกของชาวมอญเมืองหงสาวดี และพระเถระจำนวนหนึ่ง ขึ้นไปปรับเปลี่ยนและบังคับให้พลเมืองของพระองค์เข้ารีดนิกายเถระวาทแบบชาวมอญ ซึ่งเป็นชนชาติที่มีอารยะธรรมสูงส่งในแผ่นดินพม่าสมัยนั้น

ขันเงินใบนี้ แกะสลักดุนลายภาพเรื่องราวสงคราม เริ่มจากกองทัพทหารม้าติดตามช้างทรงพระเจ้าอะนอราทา มินซอ ดูจากมุ่นมวยผม ทรงกระทำยุทธหัตถี พุ่งพระแสงหอกฆ่ากษัตริย์ฝ่ายศัตรู ภาพฉัตร (ร่ม) ของกษัตริย์หักหมายถึงความพ่ายแพ้ ภาพสิ้นพระชนม์บนคอช้างของกษัตริย์ฝ่ายตรงข้ามสวมหมวกปลายแหลม เหล่ากองทัพทหารม้าฝ่ายตรงข้ามเร่งรีบถอยทัพกลับเข้าเมือง กราบทูลรายงานความปราชัยและการสิ้นพระขนม์ฯ เมื่อพระมเหสีทราบข่าว ทรงโทมนัสท่ามกลางกลุ่มนางกำนัล

ขันเงินใบนี้มีขนาดเท่าบาตรพระในสมัยโบราณ ใช้สำหรับใส่ของถวายพระ ในพิธีกรรมทางศาสนา

ของใช้ชนชั้นสูงระดับพิพิธภัณฑ์ (Museum piece) ฝีมือช่างหลวงราชสำนัก ชั้นครู หนึ่งไม่มีสอง สวยงาม อ่อนซ้อย ปราณีตทุกลายละเอียด สภาพสมบูรณ์เยี่ยม ของแท้ โบราณ เก่าเก็บ หายากมาก

ราคา 750,000 บาท

ขันเงินเก่าของพม่ายุคโบราณ นิยมเนื้อเงินประมาณ 75 % ขึ้นไป ผสมโลหะอื่นเพื่อให้เนื้อโลหะมีความแข็งคงทน แกะสลักขึ้นลายได้ลึก หรือ อีกเหตุผลหนึ่ง พระวินัยของศาสนาพุทธ มีข้อห้ามมิให้พระภิกษุจับต้องเงิน ทอง โลหะมีค่า ช่างเงินจึงเลี่ยงบาลีด้วยการผสมโลหะอื่นเพื่อลดทอนราคาของโลหะ ทว่าเพิ่มคุณสมบัติของโลหะเงินให้มีความแข็ง อย่างไรก็ดี เมื่ออังกฤษเข้ายึดครองประเทศพม่า ได้นำค่านิยมของใช้ทำด้วยโลหะเงิน เงิน สเตอริง (Sterling silver ความบริสุทธิ 92.5 %) จากนั้นมา ของใช้เครื่องเงินในพม่านิยมทำจากโลหะเงินเปอร์เซ็นต์สูงๆ

ข้อสังเกต ขันเงินเก่าโบราณก่อนยุคอาณานิคม Colonial Burma นิยมนำเสนอเรื่องราวสดุดีวีรกรรม ตำนานของพระเจ้าอะนอราทา มินซอ และ เรื่องราวในรามเกียรติ์ ผลิตโดยช่างเงินเชื้อสายพม่าแท้ ครั้นต่อมายุคหลัง ส่วนใหญ่มักเป็นเรื่องราวทางพุทธศาสนา ชาดกพระเวสสันดร และ 12 นักษัตร เพราะช่างเงินรุ่นหลังส่วนใหญ่ เชื้อสายไทยใหญ่ และ อื่นๆ


ติดต่อ สั่งซื้อ กลับไปหน้าหลัก