กำเนิดพระพุทธรูป
หลังจากที่พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชแห่งมาเซดอนได้กรีฑาทัพเข้ายึดครองแว่นแคว้นต่างๆ จากอียิปต์ เปอร์เซีย เรื่อยมาจนกระทั่งปี ค.ศ. 326 BC. ก่อนคริสต์ศักราชได้มาถึงลุ่มน้ำสินธุของอินเดีย
ทำให้ดินแดนแว่นแคว้นต่างๆ เหล่านี้รับอิทธิพลด้านการเมืองการปกครอง อักขระ ศิลปะ และวัฒนธรรมของกรีกเข้าผสมผสานกับวัฒนธรรมท้องถิ่น จากนั้น ก่อนคริสต์ศักราชประมาณ 165 BC.
ในกลุ่มชนชั้นปกครองที่เป็นชาวกรีกรุ่นหลัง คือ ยุคอินโด-กรีก (Indo-Greek) มีกษัตริย์พระองค์หนึ่งทรงพระนาม เมนันเดอร์ โสเตอร์ (Menander Soter)
คัมภีร์ศาสนาพุทธนิกายมหายานระบุว่า พระยามิลินท์ มีความศรัทธาและเลื่อมใสศาสนาพุทธไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าความเชื่อในเทพเอเธนส์ของกรีก ครั้นเมื่อพระองค์สิ้นพระชนม์เถ้า
กระดูกจากการถวายพระเพลิงถูกแบ่งออกเป็น 8 ส่วน นำไปบรรจุในสถูปทั่วอาณาจักร
ยุคนี้ ศาสนาพุทธนิกายฝ่ายเหนือเป็นที่ยอมรับนับถือเฉพาะแต่ในหมู่ชนกลุ่มน้อยของภาคเหนือและตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศอินเดีย รูปสัญลักษณ์นับถือใช้เป็นตัวแทนพระพุทธเจ้าก็ยังคงเป็นเครื่องหมายสัญลักษณ์ต่างๆ ของนิกายเถรวาท
อาทิ ต้นโพธิ์ สถูป รอยพระพุทธบาท บาตร สวัสดิกะ ธรรมจักร กวาง และ รูปไตรรัตน์ (Nandipada) ฯลฯ ความที่พระเจ้าเมนันเดอร์ มีอำนาจครอบครองดินแดนกว้างไกล คือ ดินแดนของชาวกรีกตะวันออกและอินเดียเหนือ
ซึ่งแต่เดิมพระองค์ทรงนับถือเทพสตรีเอเธนส์ (Athena) ของกรีก เหรียญกษาปณ์ที่ใช้ในรัชกาลของพระองค์ ซึ่งกระจายไปทั่วราชอาณาจักร ส่วนมากล้วนเป็นรูปเคารพเทวะสตรีกรีกเอเธนส์สวมหมวกโลหะมีภู่หงอนแบบนักรบกรีก
ยืนหันหลังยกโล่ด้วยแขนช้าย แขนขวากำสายฟ้ายกขึ้น
โบราณวัตถุยุคสมัยพระเจ้าเมนันเดอร์ ที่เป็นหลักฐานยืนยันความศรัทธาและให้เกียรติศาสนาพุทธของพระองค์ก็มีเพียง เหรียญกษาปณ์ทองแดงแบบสี่เหลี่ยม ขุดพบโดย นาย Charles Masson ที่เมือง Begram ประเทศอาฟกานิสถาน
เมื่อปี ค.ศ. 1830 เหรียญกษาปณ์นี้ เลขที่ AN00936691001 เก็บรักษาที่ พิพิธภัณฑ์สถาน บริติช มิวเซียม (British Museum) ประเทศอ้งกฤษ น้ำหนัก 1.55 กรัม
ด้านหน้าของเหรียญ รูปกงล้อธรรมจ้กร 8 ซี่ สัญลักษณ์ศาสนาพุทธ อักขระกรีกพระนามเมนันเดอร์ BAΣIAEΩΣ ΣΩTHPOΣ MENANΔPOY อ่านว่า Basileos Soteros Menandrou
- of saviour king Menander.
ด้านหลังของเหรียญ รูปใบปาล์มสัญลักษณ์แห่งชัยชนะ อักขระคารอสที่ (Kharoshthi) พระนามเมนันเดอร์ MAHARAJASA TRATARASA MENANDRASA - of the King, saviour Menander
นอกนั้นไม่มีอะไรบ่งชี้ว่ามีการสร้างพระพุทธรูป เพราะยุคสมัยนั้น ลัทธิความเชื่อในแว่นแคว้นแถบนี้ ส่วนใหญ่ยังนิยมนับถือลัทธิบูชาไฟ โซโรแอสเต้อ (Zoroastrianism) ซึ่งมีมาแต่เดิมของชาวเปอร์เชีย จากนั้นผู้มาทีหลัง คือ เหล่าเทพเจ้าของชาวกรีก และ เทพเจ้าของพราหมณ์-ฮินดู (Brahmanical-Hinduism) จากอินเดีย
ส่วนความเชื่อและศรัทธาในศาสนาพุทธยังไม่แพร่หลายเท่ากับกลุ่มที่ได้กล่าวมา เพราะเพิ่งเผยแพร่เข้ามาจากอิทธิพลของพระเจ้าอะโศก (Asoka) แห่งแคว้นมคธ (Magadha)
เมื่อปี ค.ศ. 1978-1979 คณะนักโบราณคดีชาวโซเวียตและอัฟกานิสถานได้ทำการขุดค้นบนเนินแห่งหนึ่งเรียกว่า ทิลยา เทพ (Tillya Tepe) อยู่ห่างจากเมืองชิเบอกาน (Shibergan) ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ 5 กม.
ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศอัฟกานิสถาน (Afganishtan) ได้ขุดพบโบราณวัตถุมีค่าทำจากทองคำ และ เครื่องประดับจำนวน 20,600 ชิ้น ฝังรวมอยู่ในหลุมศพ เข้าใจว่าจะเป็นระดับหัวหน้าหรือชนชั้นสูง
เป็นโครงกระดูกผู้ชายนอนหงายล้อมรอบด้วยโครงกระดูกผู้หญิง 5 โครง บนอกของโครงกระดูกผู้ชายมีเหรียญทองคำหนึ่งเหรียญ ขนาด 1.6 ซ.ม. เป็นเครื่องรางของศาสนาพุทธ เข้าใจว่ามาจากเมืองคันธาระ (Gandhara)
ด้านหน้าของเหรียญ รูปสิงโตยืนหันไปทางซ้าย เบื้องหน้าสิงโตมีเครื่องหมาย นันทิปาดา (Nandipada) สัญลักษณ์ไตรรัตน์ของศาสนาพุทธ ด้านบนมีอักขระคารอสที่
(Kharoshthi) อ่านเป็นภาษาปรากฤต หรือ ภาษาบาลี SIHO VIGATABHAYO ความว่า สิงห์ผู้ขจัดปกป้องภยันตราย
ด้านหลังของเหรียญ รูปผู้ชายโพกศีรษะแต่งกายแบบชาวอินเดีย กำลังยืนหมุนกงล้อธรรมจักร 8 ซี่ ด้านบนมีอักขระคารอสที่ อ่านเป็นภาษาปรากฤต หรือ ภาษาบาลี DHARMACHAKRA PRAVATAKO
ความว่า ผู้หมุนกงล้อแห่งธรรมมะ
รูปคนหมุนธรรมจักรนี้ไม่น่าจะเป็นพระพุทธเจ้า เพราะรูปลักษณ์เป็นบุคคลธรรมดาทั่วไป บุรุษแต่งกายโพกศีรษะ นุ่งห่มเฉกเช่นสามัญชนชาวอินเดีย หมายถึงชาวพุทธมากกว่า เหรียญนี้บ่งบอกให้รู้ว่า ซากโครงกระดูกของคนทั้งหกนี้
นับถือศาสนาพุทธ โบราณวัตถุที่ขุดพบเหล่านี้นักโบราณคดีต่างลงความเห็นว่า อยู่ในช่วงต้นคริสต์ศักราช ยุคแรกๆ ของคุชชาน (Kushan) ไม่มีอะไรบ่งชี้ว่ามีรูปเคารพแบบพระพุทธรูป เหรียญเครื่องรางชิ้นนี้เก็บรักษาที่ พิพิธภัณฑ์สถาน
ณ กรุงคาบูล (Kabul Museum) ประเทศอาฟกานิสถาน
ราว ค.ศ. 1879 มีการขุดค้นพบเหรียญกษาปณ์ทองคำ จากสถูปใหญ่ อะฮิน โภช โทบ (AHIN POSH TOPE) ประเทศอัฟกานิสถาน
ด้านหน้าของเหรียญ รูป พระเจ้าขะนิสกะมหาราช (Kanishka the Great) แห่งอาณาจักรคุชชาน ยืนถือของ้าวถวายเครื่องเซ่น มีอักขระกรีก-แบคเตรีย
þAONANOþAO KANηþKI KOþANO อ่านว่า SHAONANO SHAO KANISHKI KOSHANO ความว่า
จอมกษัตริย์ของเหล่ากษัตริย์ทั้งหลาย ขะนิสกะจ้าวแห่งคุชชาน
ด้านหล้งของเหรียญ รูปพระพุทธรูปยืน มีอักขระกรีก-แบคเตรีย BOΔΔO อ่านว่า Boddo ความว่า
Buddha พระพุทธเจ้า รูปพระพุทธเจ้ามีรัศมีประภามลฑลรอบเศียรหนึ่งวง ทรงประทับยืน พระพักตร์แบบอย่างเทวรูปกรีกมีมุ่นพระเมาลี ครองจีวรห่มคลุม พระหัตถ์ขวายกขึ้นหงายฝ่าพระหัตถ์ออกระดับพระอุระในท่าปกป้องคุ้มครองป้องภยันตราย
Reassurance / no fear อินเดียเรียกปาง Abhaya mudra พระหัตถ์ซ้ายถือปลายสังฆาติยกขึ้นระดับบั้นพระเอว
ประกายรังสีแผ่ออกรอบพระวรกายเป็นรูปวงรี เครื่องหมายประจำรัชกาลของพระเจ้าขะนิสกะ (Tamgha) อยู่ด้านขวา มีวงกลมเมล็ดไข่ปลาเป็นกรอบนอก
เหรียญกษาปณ์นี้เลขที่ AN00783671001 เก็บรักษาที่ พิพิธภัณฑ์สถาน บริติช มิวเซียม (British Museum) ประเทศอังกฤษ น้ำหนัก 7.07 กรัม ตั้งแต่นั้นมา สมมุติฐานต่างๆ เกี่ยวกับการสร้างพระพุทธรูปในสมัยพระเจ้าเมนันเดอร์
หรือ ที่ชาวพุทธเรียกว่า พระยามิรินท์ ก็เป็นอันตกไป เพราะรูปแบบของพระพุทธรูปยืนบนเหรียญกษาปณ์ทองคำนี้เป็นศิลปะแบบคันธาระ หลังจากนั้นก็มีการขุดพบเหรียญกษาปณ์ทองแดง ด้านหน้าของเหรียญฯ
เป็นรูปพระเจ้าขะนิสกะมหาราช ด้านหลังของเหรียญฯ เป็นรูปพระพุทธรูปมีทั้งประทับยืน และ ประทับนั่ง ส่วนใหญ่ล้วนขุดได้จากใต้ฐานหรือจากใจกลางสถูปโบราณ บ้างก็พบเก็บรวมกับเถ้ากระดูก เหรียญกษาปณ์อื่นๆ และของมีค่าต่างๆ
ในผะอบ กล่อง หรือ สถูปย่อส่วน มีจารึกอักขระคารอสที่ จากซากพุทธโบราณสถานในประเทศ อุชเบกิสถาน อาฟกานิสถาน ปากีสถาน ชายแดนประเทศอิหร่านตอนเหนือ และ ตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดีย
เหรียญกษาปณ์เหล่านี้ นักโบราณคดี นักประวัติศาสตร์ และ นักกษาปณ์วิทยา ใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงการกำเนิด และ สร้างพระพุทธรูปครั้งแรกของโลกในยุคสมัยของพระเจ้าขะนิสกะแห่งราชวงศ์คุชชาน เพราะไม่ปรากฏว่ามีรูปพระพุทธใดเก่าแก่ หรือ มีอายุมากไปกว่านี้
คำว่าคุชชาน มาจากภาษาจีน กุยชาง (Guishang) ซึ่งเป็นกลุ่มย่อยของชนเผ่าเร่ร่อน เยอะชี่ (Yueh-chi) มีถิ่นอาศัยทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือชายแดนประเทศจีน ซึ่งได้อพยพเคลื่อนย้ายลงมาตั้งแหล่งพักพิงแถวประเทศอาฟกานิสถานก่อนคริสต์ศักราช 150 ปี
จากนั้น ได้รวมตัวเป็นปึกแผ่นเข้มแข็ง และ ได้กลายเป็นอาณาจักรใหญ่ครอบครองดินแดน ถ้าเทียบกับปัจจุบันก็คือ ประเทศอาฟกานิสถาน ปากีสถาน และ ตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศอินเดีย รุ่งเรืองอยู่ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 1 - 3 ยุคที่รุ่งเรืองสูงสุดของอาณาจักรคุชชาน
คือสมัย พระเจ้าขะนิสกะมหาราช (Kanishka the Great) ทรงเป็นกษัตริย์องค์ที่สามของอาณาจักรฯ ครอบครองดินแดน อุชเบกิสถาน (Uzbegistan) อาฟกานิสถาน ปากีสถาน และ ในอินเดียไปทางทิศตะวันออกไกลถึงกรุงพาราณสี
(Beneres) ทิศใต้ไกลสุดถึงเมืองศานจิ (Sanchi) พระองค์ทรงเลื่อมใสและศรัทธาในพุทธศาสนา ทรงให้มีการทำสังคายนาพระไตรปิฏก ที่ เมืองจารันธาร (Jalandhar) ณ ป่าคุนดารา (Kundalavana) ที่ แคชเมีย (Kashmir)
โดยมี พระอัศวะโกษา (Asvaghosha) พระวาสุมิตร (Vasumitra) และ พระนครจุน (Nagarjuna) ทั้งสามรูปร่วมเป็นประธานชำระ และ ปฏิรูปพุทธศาสนานิกายฝ่ายเหนือ จนได้ชื่อว่านิกายมหายาน (Mahayana) เผยแพร่ไปทั่วเอเชียกลางเข้าไปในจีนและอินเดีย กว้างไกลกว่าเก่าก่อน
อาณาจักร์คุชชาน มีศูนย์กลางการปกครองสองแห่ง ที่ ปูรูชาบุรี (Purusharpura) ปัจจุบัน คือ เมือง เปชวา (Peshwar) เป็นเมืองหลวงสำหรับฤดูร้อน และ มธุรา (Mathura) เป็นเมืองหลวงสำหรับฤดูหนาว ศิลปะของคุชชานถือเป็นยุคเริ่มต้น และ ก่อให้เกิดศิลปะขั้นสูงแก่อินเดีย
เป็นครั้งแรกที่ประเทศอินเดียใช้เหรียญกษาปณ์ทองคำ และ ได้พัฒนาต่อเนื่องและรุ่งเรืองถึงขีดสูงสุด คือ ยุคคุปตะ (Gupta)
พุทธศิลป์ในยุคสมัยราชวงศ์คุชชาน มีสองสกุล คือ สกุลช่างมธุรา (Mathura School) และ สกุลช่างคันธาระ (Gandhara School)
สกุลช่างมธุรา (Mathura School)
ในยุคต้นคริสต์ศักราชระหว่าง 100 BC.- 250 AD. ศิลปะสกุลช่างมธุรารุ่งเรืองมาก แนวคิดใหม่ของศาสนาพุทธนิกายฝ่ายเหนือทำให้ผู้คนกล้าคิดกล้าทำ การสร้างพระพุทธรูปจึงได้อุบัติขึ้นในแคว้นมธุรา ทั้งที่ก่อนหน้านี้ ศาสนาเชน (Jain)
ได้สร้างรูปเคารพศาสดาของตนด้วยหินทรายสีชมพูอมแดงลายจุดขาว (White-spoted red sand stone, Mottle red sand stone) หรือ ที่ชาวอินเดียเรียกว่า หินทรายแดงศรีครี่ (Red sikri sand stone) โดยที่หินทรายชนิดนี้มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว
และ มีในพื้นที่นี้เท่านั้น จึงไม่เแปลกที่พระพุทธรูปแต่ละรุ่นจากยุคเริ่มต้นสมัยคุชชาน เรื่อยลงมาถีงยุคสมัยคุปตะ ที่สร้างจากพื้นที่แห่งนี้ล้วนใช้หินดังกล่าว จนเป็นที่รับรู้ของนักโบราณคดีว่าเป็นศิลปะจากมธุรา เรียกว่า มธุราคุปตะ (Mathura Gupta) พุทธศิลป์ของมธุรายุคต้น คือ จากสมัยคุชชาน
ล้วนเป็นศิลปะสกุลช่างพื้นเมืองของอินเดียโดยแท้ พระเศียรเรียบมีประภามณฑลขนาดใหญ่มากติดอยู่หลังพระเศียร มุ่นมวยผมพระเมาลีม้วนเป็นขดก้นหอยขนาดใหญ่เรียวขึ้นไปหนึ่งชั้นถึงสามชั้นตั้งอยู่เหนือพระเศียร พระพักตร์ค่อนข้างกลม มีพระอุณาโลมระหว่างพระโขนงทั้งสอง พระกรรณยาว
พระวรกายอวบสมบูรณ์ ครองจีวรห่มเฉียงเป็นริ้วบางแนบพระวรกาย รูปแบบพระพุทธรูปมีเพียงสองปาง ถ้าเป็นปางประทับนั่ง จะประทับนั่งไขว้พระชงฆ์เห็นฝ่าพระบาททั้งสองข้าง พระหัตถ์ขวายกขึ้นระดับพระอุระหงายฝ่าพระหัตถ์ออก พระหัตถ์ซ้ายวางบนพระชานุเบื้องซ้าย ส่วนใหญ่จะประทับนั่งบนวัชราสน์อาสน์
ประดับสิงห์สองตัว หรือ สามตัว ด้านข้างบนวัชราสน์อาสน์มีพระโพธิสัตว์ทรงเครื่องสองพระองค์ ยืนกระหนาบเบื้องซ้ายและเบื้องขวา ด้านบนประภามณฑลมีเทวดาองค์เล็กสององค์เหาะประกบซ้ายขวา หากเป็นพระพุทธรูปประทับยืนรูปทรงจะไม่ต่างไปจากพระพุทธรูปแบบประทับนั่ง คือครองจีวรห่มเฉียง
มีประภามณฑลขนาดใหญ่มาก มุ่นมวยผม พระวรกายอวบ พระหัตถ์ขวายกขึ้นหงายฝ่าพระหัตถ์ออกระดับพระอุระ พระหัตถ์ซ้ายจับปลายจีวรปล่อยพระกรแนบพระวรกาย ประทับยืนเดี่ยวไม่มีพระโพธิสัตว์ประทับยืนกระหนาบพระวรกาย ไม่มีเทวดาเหาะเหนือประภามณฑล โดยทั่วไปขุดพบแต่สองปางสองแบบนี้เท่านั้น
ไม่ปรากฏปางประสูติ และ ปางปรินิพพาน ? พระพุทธรูปมธุราสมัยคุชชาน (Mathura Kushan) หากมีจารึกจะเป็น อักขระพราหมมี (Bramhi)
พระพุทธรูปศิลปะมธุราหายาก พบเห็นน้อยมาก ไม่ปรากฏรูปหล่อโลหะ พุทธศิลป์สกุลช่างมธุรา เป็นแม่แบบพุทธศิลป์ของอินเดียมาตั้งแต่ต้น
เป็นศิลปะอินเดียแท้บริสุทธิ นิยมแพร่หลายมีอิทธิพล และ เป็นต้นแบบของพระพุทธรูปในประเทศอินเดีย เนปาล ธิเบต มองโกเลีย ศรีลังกา พม่า ไทย ลาว เขมร และ ชวา
สกุลช่างคันธาระ (Gandhara School)
เนื่องจากแว่นแคว้นคันธาระ เป็นเมืองที่ผสมผสานของกลุ่มชนหลายเผ่า หลายวัฒนธรรมที่เคลื่อนย้ายมาจากทางเหนือและทางตะวันตก หลายรุ่นหลายคราตั้งแต่ถูกรุกราณและปกครองโดยชาวกรีกของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชแห่งมาเซดอน แนวคิดและวิถีของศิลปะแบบกรีก (Helenistic)
และ กรีก-โรมัน (Greco-Roman) ซึ่งมีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมในถิ่นนี้มาก จึงไม่น่าแปลกที่พุทธศิลป์ของคันธาระจะเป็นแบบกรีกตามแนวคิดของตะวันตก พระพุทธรูปคันธาระ จึงมีทรวดทรงแบบเทวรูปกรีก-โรมัน พระพักตร์เรียวงาม พระเศียรมีเส้นพระเกษาเป็นริ้ว
มีประภามณฑลขนาดใหญ่ติดหลังพระเศียรเช่นเดียวกับมธุรา มีมุ่นมวยผมพระเมาลีกลมเหนือพระเศียร พระกรรณยาว มีพระอุณาโลมระหว่างพระโขนงทั้งสอง พระวรกายสันทัด ได้สัดส่วน สง่างาม เหมือนคนจริงๆ ครองจีวรมีริ้วรอยผ้าเหมือนจริง หากมีจารึกจะสลักอักขระ คารอสที่
พระพุทธรูปในยุคแรกๆ ล้วนแกะจากหินซิสสีเทา (gray schist) อมเขียว อมดำ เนื่องจากพุทธศาสนารุ่งเรืองมากในเขตนี้ จึงมีพุทธสถานมากมายกระจายไปทั่ว พระพุทธรูปที่ขุดพบมีมากมายหลายปางหลายแบบ ประทับนั่งสมาธิ ประทับนั่งมารวิชัย ประทับนั่งประทานพร ประทับนั่งปฐมเทศนา ประทับนั่งแสดงยมกปาฏิหาริย์
ส่วนใหญ่จะครองจีวรห่มคลุมหรือห่มเฉียงประทับนั่งบนฐานวัชรอาสน์สิงห์สองตัว เฉพาะปางอดอาหารผอมโซเท่านั้นที่ประทับนั่งบนหญ้าคา แม้แต่ปางประทับยืนก็มีหลายแบบ ประทับยืนประทานพร ประทับยืนปราบช้างนาราคีรี ประทับยืนเสด็จจากดาวดีงส์ ซึ่งปางประทับยืนทั้งหลายเหล่านี้ล้วนครองจีวรห่มคลุมอย่างเดียว
ไม่มีครองจีวรเป็นอย่างอื่น ที่มีมากมายคือพระแผงแสดงเรื่องราวพุทธประวัติและชาดกต่างๆ แกะสลักเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยประดับแสดงเรื่องราวรอบพระสถูป โบสถ์วิหาร หากมีจารึกจะเป็น อักขระคารอสที่ (Kharoshthi)
ในยุคปลายประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 3 - 4 นิยมสร้างพระพุทธรูปด้วยปูนปั้น (Stucco) มากกว่าแกะสลักจากหินเหมือนแต่ก่อน
ช่วงปลายนี้มีการหล่อด้วยโลหะแต่เป็นองค์เล็กๆ พุทธศิลป์สกุลช่างคันธาระ มีอิทธิพลนิยมแพร่หลายและเป็นต้นแบบของพระพุทธรูปในเอเชียกลาง จีน เกาหลี และญี่ปุ่น
พระพุทธรูปสองสกุลช่าง คือ มธุรา เป็นสกุลช่างท้องถิ่นของอินเดีย คันธาระ เป็นสกุลช่างตะวันตก พระพุทธรูปทั้งสองสกุลนี้ จึงมีพุทธศิลป์แตกต่างกันมาก จะมีเหมือนกันก็แต่ลักษณะเด่นตามอุดมคติคุณลักษณของมหาบุรุษในตำนานพุทธศาสนาเท่านั้น
แม้จะได้ชื่อว่าเกิดขึ้นในรัชสมัยของพระเจ้าขะนิสกะ แต่ข้อโต้แย้งว่าสกุลช่างฝ่ายใหน มธุรา (Mathura School) หรีอ คันธาระ (Ghandara School) เป็นฝ่ายริเริ่มสร้างพระพุทธรูปก่อนกัน ซึ่งเรื่องนี้ นักโบราณคดีได้ให้น้ำหนักมาทางสกุลช่างมธุรา
เพราะพุทธลักษณะมีพัฒนาการและใกล้เคียงกับศิลปะนากาจุนนะคร (Nagarjunakonda) และ อัมราวาตี (Amaravati) ในยุคสมัยพาหุท (Bharhut) ซึ่งพัฒนารูปแบบต่อเนื่องมาจากสมัยสันกะ (Sunga) ย้อนขึ้นไปถึง สมัยพระเจ้าอโศกแห่ง โมรียะ (Mauryan)
พระพุทธรูปสองสกุลช่าง มธุรา และ คันธาระ ดังที่ได้แสดงใว้ ณ ที่นี้ ถือเป็นพระพุทธรูปรุ่นแรก หลายองค์มีอักขระจารึกปีศักราช ปีที่ครองราช แม้กระทั่งซื่อของพระเจ้าขะนิสกะที่ฐาน ล้วนมีอายุรุ่นเดียวกันกับเหรียญกษาปณ์ที่อ้างถึงข้างต้น
ผลจากการขุดค้นศึกษาของนักโบราณคดีและนักประวัติศาสตร์ ต่างลงความเห็นว่า พระพุทธรูปสร้างขึ้นครั้งแรกของโลก ระหว่างปี ค.ศ. 127 - 152 ในยุคสมัยของพระเจ้าขะนิสกะมหาราช แห่งคุชชาน เพราะไม่ปรากฏว่า มีพระพุทธรูปยุคอื่นใดที่เก่าแก่ไปกว่านี้
แม้ในยุคถ้ดมา ศิลปวิทยาการของอินเดียเจริญมากถึงขีดสุด คือ ยุคคุปตะ พุทธศิลป์ของมธุรา ถูกเรียกว่า มธุราคุปตะ (Mathura Gupta) ก็ยังนิยมสร้างพระพุทธรูปเพียงสองปาง สองแบบ คือประทับนั่งและประทับยืน
และยังคงริ้วจีวร ประภามณฑลขนาดใหญ่แกะสลักลวดลายดอกไม้ พระพักตร์สงบ พระเนตรครึ่งหลับ ขณะเดียวกันคุปตะ ก็เป็นยุคทองของ สกุลช่างสารนาท (Sarnath School)
เรียกว่าสารนาทคุปตะ (Sarnath Gupta) มีหลากหลายปางหลายท่าทาง พระพุทธรูปมีพระวรกายสมส่วน จีวรไม่มีริ้ว บางแนบติดพระวรกายเหมือนเปียกน้ำ ดูเรียบง่าย พระพักตร์รูปไข่ พระเนตรครึ่งหลับดูสงบมีสมาธิ อย่างไรก็ดี
พุทธศิลป์ที่งดงามของสารนาทคุปตะ ล้วนรับอิทธิพลมาจากศิลปะของมธุรา กล่าวคือ มธุราเป็นแม่แบบของพุทธศิลป์ของอินเดียมาตั้งแต่ต้น
**********
ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ท่านสามารถนำ ข้อเขียน เนื้อหา ไปใช้ประโยชน์ได้โดยไม่ต้องแจ้งแต่ประการใด ส่วนภาพประกอบในสาระน่ารู้เหล่านี้ได้คัดลอกมาจาก
Internet Public Domains บางภาพอาจมีลายน้ำต้องคงไว้เป็นตัวอ้างอิงถึงที่มา ต้องให้ Credit แก่เจ้าของภาพ และ www.dandinth.com เพื่อประโยชน์ต่อการสืบค้น
คลิกที่นี่ เพื่อกลับไปเริ่มต้นอ่านใหม่
คลิกที่นี่ เพื่อศึกษาข้อมูล อาณาจักรคุชชาน จาก เหรียญกษาปณ์คุชชาน Kushan ที่ www.THAIPRIVATEHAND.COM